วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
การพัฒนาเครื่องมือ
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่เป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อมูล หรือพฤติกรรมที่เราต้องการค้นพบ โดยใช้ระบบจำนวนมาช่วยในการแปลความหมายของข้อมูลที่เก็บมาได้จากสิ่งที่ถูกวัด ข้อมูลที่เก็บมาได้ถือเป็นการวัดผล ..(คลิกอ่านต่อ)
เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย
เป็นเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยข้อคิดเห็นที่สอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในอนาคต โดยอาศัยวิธีการสื่อสารระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนได้รับข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันโดยไม่มีการเผชิญหน้าโดยตรง... (คลิกอ่านรายละเอียด)
เกณฑ์การประเมิน
การประเมิน หมายถึง กระบวนการที่ให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจในการพัฒนางานต่าง ๆ โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด
เป้าของการประเมินหรือสิ่งที่มุ่งประเมิน
สิ่งที่ต้องการประเมิน (Object of Evaluation) เป็นสิ่งที่ผู้ประเมิน มุ่งตัดสินคุณค่า ซึ่งมีหลายระดับ แต่ละระดับสัมพันธ์และเป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน โดยมุ่งสู่สิ่งสูงสุดเดียวกัน คือ สังคม จุดมุ่งหมายของการประเมิน เป็นความคาดหวังจากการประเมิน 2 ลักษณะ คือ
- วัตถุประสงค์ของการประเมิน หมายถึง สิ่งที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้น หรือสิ่งที่ต้องจัดทำให้ปรากฏในการประเมิน ซึ่งได้แก่ "การตัดสินคุณค่า" ของสิ่งที่มุ่งประเมิน
- เป้าหมายของการประเมิน หมายถึง จุดหมายปลายทางของการดำเนินงาน คือ "การพัฒนาคุณค่า" ของสิ่งที่มุ่งประเมิน
บทบาทของการประเมิน
ลักษณะความต้องการสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นตัวกำหนดบทบาทของการประเมิน (Role of Evaluation) ซึ่งสามารถจำแนกเป็นบทบาทที่สำคัญได้ 2 บทบาท คือ การเสนอสารสนเทศระหว่างการดำเนินงาน (Formative) และหลังสิ้นสุดการดำเนินงาน (Summative)
ประเด็นการประเมิน ก็คือสิ่งที่จะบ่งชี้ว่าวัตถุประสงค์นั้นสำเร็จหรือไม่ เป็นการดูกว้าง ๆ ยังไม่ถึงตัวชี้วัด จากประเด็นจะโยงมาถึงตัวชี้วัด เกณฑ์ คือ ปริมาณหรือคุณภาพขั้นต่ำที่จะยอมรับได้ของแต่ละตัวชี้วัด หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ตัวชี้วัด จะมาคู่กับสิ่งที่เรียกว่า เกณฑ์ (ศิริเดช สุชีวะ 2548: 175-177)
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด หรือตัวบ่งชี้ (Indicator) ในภาษาไทยมีใช้อยู่หลายคำ เช่น ดัชนี ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด เครื่องชี้วัด เป็นต้น
หมายถึง สิ่งต่าง ๆ หรือลักษณะต่าง ๆ ที่ระบุถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเด็นที่ต้องประเมิน (สุวิมล ตริกานนท์ 2549: 86)
หมายถึง ตัวประกอบ ตัวแปร หรือค่าที่สังเกตได้ ซึ่งใช้บ่งบอกสถานภาพหรือสะท้อนลักษณะการดำเนินงานหรือผลการดำเนินงาน (ศิริชัย กาญจนวาสี 2545: 84)
หมายถึง สิ่งที่บอกสภาพ หรือสภาวะในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพของสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นการนำข้อมูลหรือตัวแปรหรือข้อความจริงมาสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดคุณค่าหรือคุณค่าที่สามารถชี้ให้เห็นลักษณะของสภาพการณ์นั้น ๆ (ผดุงชัย ภู่พัฒน์ 2545: 170)
สรุปความหมายของตัวชี้วัด ได้ว่า หมายถึง สิ่งที่สามารถวัดหรือสังเกตได้เพื่อบอกสภาพทั้งในเชิงประมาณ หรือเชิงคุณภาพในประเด็นที่ต้องการประเมิน
คุณสมบัติที่ดีของตัวชี้วัด (ผดุงชัย ภู่พัฒน์ 2545: 174)
1) สอดคล้องกับประเด็นที่ต้องการวัด มีความตรง (validity) และมีความเที่ยง (reliability)
2) เป็นรูปธรรม วัดหรือสังเกตได้อย่างชัดเจน
3) มีความเชื่อถือได้และได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้อง
4) มีความไวต่อความแตกต่าง (sensitivity) (วัดความแตกต่างระหว่างหน่วยวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง)
ลักษณะของตัวชี้วัดทางการศึกษา ควรมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ (เพชรา พิพัฒน์สันติกุล 2548: 235)
1) ให้สารสนเทศเกี่ยวกับสภาพที่ศึกษาอย่างกว้าง ๆ ไม่จำเป็นต้องละเอียด แต่มีความถูกต้อง แม่นยำ
2) มีลักษณะเป็นตัวแปรรวม สร้างขึ้นจากการรวมตัวแปรที่ให้สารสนเทศแต่ละด้าน (facet)
3) ค่าของตัวชี้วัดแสดงถึงปริมาณและการแปลความหมายซึ่งมีการเปรียบเทียบกับเกณฑ์/มาตรฐานที่กำหนด
4) ให้สารสนเทศ ณ จุดเวลา/ ช่วงเวลาเฉพาะ เมื่อนำตัวชี้วัดจากช่วงเวลาหลายจุดมาเทียบกัน โดยสามารถแสดงสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
5) เป็นหน่วยพื้นฐาน(units) สำหรับการพัฒนาทฤษฎีสำหรับศาสตร์ทุกสาขา
เกณฑ์
คำว่า "เกณฑ์" (criteria)
พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ (ราชบัณฑิตยสถาน 2551: 99) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง หลักการหรือมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อประเมินค่าเรื่องต่าง ๆ ว่ามีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่
หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นหลักสำหรับการตัดสินใจ (บุญศรี พรหมมาพันธุ์ 2551: 40)
หมายถึง ปริมาณหรือคุณภาพขั้นต่ำที่จะยอมรับได้ของแต่ละตัวบ่งชี้ (ศิริเดช สุชีวะ (2548: 177)
หมายถึง ระดับที่ใช้ในการตัดสินความสำเร็จของการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด (สุวิมล ว่องวาณิช 2544: 75)
หมายถึง หลัก หรือมาตรฐานที่ใช้ในการเลือกหรือตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Trumble and other 2000: 492)
สรุปได้ว่า เกณฑ์ หมายถึงข้อกำหนดที่ใช้ตัดสินคุณภาพของการดำเนินงานหรือผลประกอบการที่ได้
คุณลักษณะของเกณฑ์การประเมินที่ดี
1) มีความท้าทายและเป็นไป
2) สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
3) ได้รับการยอมรับจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ผดุงชัย ภู่พัฒน์ 2545: 185-187, บุญศรี พรหมมาพันธุ์ และคนอื่น ๆ 2547: 99-100)
เกณฑ์ที่เหมาะสมควรผันแปรอยู่ระหว่างปกติวิสัย(norms) และมาตรฐาน(standard)
โมเดลในการกำหนดเกณฑ์
1) โมเดลความงอกงาม (growth model) เป็นการพิจารณาพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น เช่น การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียน อาจทำได้ 2 ลักษณะคือ
(1) คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่
(2) กำหนดช่วงคะแนนที่เพิ่มขึ้น
2) โมเดลสัมบูรณ์ (absolute model) เป็นการกำหนดโดยหลักเหตุผล โมเดลนี้ มีอำนาจในการทำนายสูง จะใช้ความเห็นของผู้เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้กำหนดขึ้น หรืออาจกำหนดโดยอาศัยกฎเกณฑ์
3) โมเดลสัมพัทธ์ (relative model) เป็นการเปรียบเทียบพฤติกรรมของกลุ่ม
(1) การเปรียบเทียบกันเองภายในกลุ่ม
(2) การเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นที่คล้ายคลึงหรือเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
(3) การเปรียบเทียบกับค่าที่ทำนายไว้ (predictive criterion)
(บางที่จำแนกเป็น 2 แบบโดยรวม โมเดลความงอกงามไว้ในโมเดลสัมพัทธ์)
การเลือกโมเดลการกำหนดเกณฑ์การประเมินต้องให้เหมาะสม และสอดคล้องกับธรรมชาติของเป้าหมายในการประเมิน ควรพิจารณาบริบท และช่วงระยะที่ทำการประเมิน เป็นสำคัญ เช่นการประเมินผลของโครงการ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีลักษณะเฉพาะของโครงการ ควรใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ตามมาตรฐานการปฏิบัติของโครงการนั้น ๆ แต่การประเมินในขั้นของการสรุปผลหลังการดำเนินโครงการควรใช้เกณฑ์สัมพัทธ์เพื่อให้ทราบถึงมาตรฐานของโครงการ เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
การตั้งเกณฑ์สัมบูรณ์ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ไม่ได้เทียบกับใคร เป็นเกณฑ์ที่ผู้ประเมินตั้งขึ้นเองข้อพิจารณาเกี่ยวกับการตั้งเกณฑ์สัมบูรณ์มีที่มาจาก 4 แหล่งใหญ่ ๆ คือ
1. ดูจากมาตรฐานวิชาชีพของเรื่องนั้น
2. กำหนดจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้น
3. กำหนดเกณฑ์จากการคาดคะเนจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา
4. เกณฑ์ได้มาจากปกติวิสัย (norm) เช่น เกณฑ์การตัดสินระดับสติปัญญาของคน ที่วัด IQ IQ เท่าไรจึงจะแปลว่ามีความฉลาด โดยเทียบกับคนส่วนใหญ่
เป้าของการประเมินหรือสิ่งที่มุ่งประเมิน
สิ่งที่ต้องการประเมิน (Object of Evaluation) เป็นสิ่งที่ผู้ประเมิน มุ่งตัดสินคุณค่า ซึ่งมีหลายระดับ แต่ละระดับสัมพันธ์และเป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน โดยมุ่งสู่สิ่งสูงสุดเดียวกัน คือ สังคม จุดมุ่งหมายของการประเมิน เป็นความคาดหวังจากการประเมิน 2 ลักษณะ คือ
- วัตถุประสงค์ของการประเมิน หมายถึง สิ่งที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้น หรือสิ่งที่ต้องจัดทำให้ปรากฏในการประเมิน ซึ่งได้แก่ "การตัดสินคุณค่า" ของสิ่งที่มุ่งประเมิน
- เป้าหมายของการประเมิน หมายถึง จุดหมายปลายทางของการดำเนินงาน คือ "การพัฒนาคุณค่า" ของสิ่งที่มุ่งประเมิน
บทบาทของการประเมิน
ลักษณะความต้องการสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นตัวกำหนดบทบาทของการประเมิน (Role of Evaluation) ซึ่งสามารถจำแนกเป็นบทบาทที่สำคัญได้ 2 บทบาท คือ การเสนอสารสนเทศระหว่างการดำเนินงาน (Formative) และหลังสิ้นสุดการดำเนินงาน (Summative)
ประเด็นการประเมิน ก็คือสิ่งที่จะบ่งชี้ว่าวัตถุประสงค์นั้นสำเร็จหรือไม่ เป็นการดูกว้าง ๆ ยังไม่ถึงตัวชี้วัด จากประเด็นจะโยงมาถึงตัวชี้วัด เกณฑ์ คือ ปริมาณหรือคุณภาพขั้นต่ำที่จะยอมรับได้ของแต่ละตัวชี้วัด หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ตัวชี้วัด จะมาคู่กับสิ่งที่เรียกว่า เกณฑ์ (ศิริเดช สุชีวะ 2548: 175-177)
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด หรือตัวบ่งชี้ (Indicator) ในภาษาไทยมีใช้อยู่หลายคำ เช่น ดัชนี ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด เครื่องชี้วัด เป็นต้น
หมายถึง สิ่งต่าง ๆ หรือลักษณะต่าง ๆ ที่ระบุถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเด็นที่ต้องประเมิน (สุวิมล ตริกานนท์ 2549: 86)
หมายถึง ตัวประกอบ ตัวแปร หรือค่าที่สังเกตได้ ซึ่งใช้บ่งบอกสถานภาพหรือสะท้อนลักษณะการดำเนินงานหรือผลการดำเนินงาน (ศิริชัย กาญจนวาสี 2545: 84)
หมายถึง สิ่งที่บอกสภาพ หรือสภาวะในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพของสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นการนำข้อมูลหรือตัวแปรหรือข้อความจริงมาสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดคุณค่าหรือคุณค่าที่สามารถชี้ให้เห็นลักษณะของสภาพการณ์นั้น ๆ (ผดุงชัย ภู่พัฒน์ 2545: 170)
สรุปความหมายของตัวชี้วัด ได้ว่า หมายถึง สิ่งที่สามารถวัดหรือสังเกตได้เพื่อบอกสภาพทั้งในเชิงประมาณ หรือเชิงคุณภาพในประเด็นที่ต้องการประเมิน
คุณสมบัติที่ดีของตัวชี้วัด (ผดุงชัย ภู่พัฒน์ 2545: 174)
1) สอดคล้องกับประเด็นที่ต้องการวัด มีความตรง (validity) และมีความเที่ยง (reliability)
2) เป็นรูปธรรม วัดหรือสังเกตได้อย่างชัดเจน
3) มีความเชื่อถือได้และได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้อง
4) มีความไวต่อความแตกต่าง (sensitivity) (วัดความแตกต่างระหว่างหน่วยวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง)
ลักษณะของตัวชี้วัดทางการศึกษา ควรมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ (เพชรา พิพัฒน์สันติกุล 2548: 235)
1) ให้สารสนเทศเกี่ยวกับสภาพที่ศึกษาอย่างกว้าง ๆ ไม่จำเป็นต้องละเอียด แต่มีความถูกต้อง แม่นยำ
2) มีลักษณะเป็นตัวแปรรวม สร้างขึ้นจากการรวมตัวแปรที่ให้สารสนเทศแต่ละด้าน (facet)
3) ค่าของตัวชี้วัดแสดงถึงปริมาณและการแปลความหมายซึ่งมีการเปรียบเทียบกับเกณฑ์/มาตรฐานที่กำหนด
4) ให้สารสนเทศ ณ จุดเวลา/ ช่วงเวลาเฉพาะ เมื่อนำตัวชี้วัดจากช่วงเวลาหลายจุดมาเทียบกัน โดยสามารถแสดงสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
5) เป็นหน่วยพื้นฐาน(units) สำหรับการพัฒนาทฤษฎีสำหรับศาสตร์ทุกสาขา
เกณฑ์
คำว่า "เกณฑ์" (criteria)
พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ (ราชบัณฑิตยสถาน 2551: 99) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง หลักการหรือมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อประเมินค่าเรื่องต่าง ๆ ว่ามีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่
หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นหลักสำหรับการตัดสินใจ (บุญศรี พรหมมาพันธุ์ 2551: 40)
หมายถึง ปริมาณหรือคุณภาพขั้นต่ำที่จะยอมรับได้ของแต่ละตัวบ่งชี้ (ศิริเดช สุชีวะ (2548: 177)
หมายถึง ระดับที่ใช้ในการตัดสินความสำเร็จของการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด (สุวิมล ว่องวาณิช 2544: 75)
หมายถึง หลัก หรือมาตรฐานที่ใช้ในการเลือกหรือตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Trumble and other 2000: 492)
สรุปได้ว่า เกณฑ์ หมายถึงข้อกำหนดที่ใช้ตัดสินคุณภาพของการดำเนินงานหรือผลประกอบการที่ได้
คุณลักษณะของเกณฑ์การประเมินที่ดี
1) มีความท้าทายและเป็นไป
2) สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
3) ได้รับการยอมรับจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ผดุงชัย ภู่พัฒน์ 2545: 185-187, บุญศรี พรหมมาพันธุ์ และคนอื่น ๆ 2547: 99-100)
เกณฑ์ที่เหมาะสมควรผันแปรอยู่ระหว่างปกติวิสัย(norms) และมาตรฐาน(standard)
โมเดลในการกำหนดเกณฑ์
1) โมเดลความงอกงาม (growth model) เป็นการพิจารณาพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น เช่น การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียน อาจทำได้ 2 ลักษณะคือ
(1) คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่
(2) กำหนดช่วงคะแนนที่เพิ่มขึ้น
2) โมเดลสัมบูรณ์ (absolute model) เป็นการกำหนดโดยหลักเหตุผล โมเดลนี้ มีอำนาจในการทำนายสูง จะใช้ความเห็นของผู้เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้กำหนดขึ้น หรืออาจกำหนดโดยอาศัยกฎเกณฑ์
3) โมเดลสัมพัทธ์ (relative model) เป็นการเปรียบเทียบพฤติกรรมของกลุ่ม
(1) การเปรียบเทียบกันเองภายในกลุ่ม
(2) การเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นที่คล้ายคลึงหรือเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
(3) การเปรียบเทียบกับค่าที่ทำนายไว้ (predictive criterion)
(บางที่จำแนกเป็น 2 แบบโดยรวม โมเดลความงอกงามไว้ในโมเดลสัมพัทธ์)
การเลือกโมเดลการกำหนดเกณฑ์การประเมินต้องให้เหมาะสม และสอดคล้องกับธรรมชาติของเป้าหมายในการประเมิน ควรพิจารณาบริบท และช่วงระยะที่ทำการประเมิน เป็นสำคัญ เช่นการประเมินผลของโครงการ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีลักษณะเฉพาะของโครงการ ควรใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ตามมาตรฐานการปฏิบัติของโครงการนั้น ๆ แต่การประเมินในขั้นของการสรุปผลหลังการดำเนินโครงการควรใช้เกณฑ์สัมพัทธ์เพื่อให้ทราบถึงมาตรฐานของโครงการ เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
การตั้งเกณฑ์สัมบูรณ์ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ไม่ได้เทียบกับใคร เป็นเกณฑ์ที่ผู้ประเมินตั้งขึ้นเองข้อพิจารณาเกี่ยวกับการตั้งเกณฑ์สัมบูรณ์มีที่มาจาก 4 แหล่งใหญ่ ๆ คือ
1. ดูจากมาตรฐานวิชาชีพของเรื่องนั้น
2. กำหนดจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้น
3. กำหนดเกณฑ์จากการคาดคะเนจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา
4. เกณฑ์ได้มาจากปกติวิสัย (norm) เช่น เกณฑ์การตัดสินระดับสติปัญญาของคน ที่วัด IQ IQ เท่าไรจึงจะแปลว่ามีความฉลาด โดยเทียบกับคนส่วนใหญ่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)